มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน


มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ฉบับลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

           มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๙
มีจำนวน ๔ มาตรฐาน คือ
               มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน
                   ๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
                   ๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
               มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
               มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
               มาตรฐานที่ ๔ ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

มาตรฐานที่ ๑  คุณภาพของผู้เรียน
           ๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
               ๑) ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น
               ๒) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปราย  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา
               ๓) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
               ๔) ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตร
               ๕) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการจากผลการสอบวัดระดับชาติ
               ๖) ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงาน
           ๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
      ๑)  มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรม
อันดีของสังคม
                    ๒)  ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย
                    ๓)  ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลาย
                    ๔)  สุขภาวะทางร่างกาย และลักษณะจิตสังคม

มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
 ๑. การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
               ๒. การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
                   ๑) การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้าน ทุกกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
                   ๒) การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
                   ๓) การวางแผนและการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
                   ๔) การวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
               ๓. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
               ๔. การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
               ๑. การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม
               ๒. การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น
               ๓. การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ

 มาตรฐานที่ ๔ ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล
      การใช้ระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น